Last updated: 7 เม.ย 2562 | 5052 จำนวนผู้เข้าชม |
76 จังหวัดประกอบพิธี "พลีกรรมตักน้ำ" ระหว่างฤกษ์เวลา 11.52-12.38 น. รวม 46 นาที เพื่อทำน้ำอภิเษก ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
วันที่ 6 เมษายน 2562 ที่วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี เป็นประธานในการตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ พร้อมด้วยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนนทบุรี รอง ผอ.รมน.จังหวัดนนทบุรี ผบก.ภ.จว.นนทบุรี นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนนทบุรี รองผู้ว่าราชการจังหวัด อัยการจังหวัดนนทบุรี หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนภาคเอกชน เหล่าข้าราชการเจ้าหน้าที่ และประชาชน ได้เข้าร่วมพิธีพลีกรรมตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่บริเวณกลางแม่น้ำเจ้าพระยาพร้อมกัน 76 จังหวัดทั่วประเทศ
เวลา 11.52 น. นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี นำคณะหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดนนทบุรี ลงเรือล่องไปยังที่บริเวณจุดกลางแม่น้ำเจ้าพระยา เบื้องหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐมหาเจษฎาบดินทร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อจัดทำน้ำอภิเษกในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งเป็นที่น่าอัศจรรย์ใจปลาบปลื้มปีติเป็นอย่างยิ่ง หลังจากนายภาณุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ได้ทำพิธีตักน้ำใส่ "ขันน้ำสาคร" เสร็จสิ้นที่บริเวณกลางแม่น้ำ ก็ได้เกิดฝนตกลงมาโปรยปรายชั่วขณะแล้วหยุดหายไป ที่รอบๆ บริเวณดังกล่าว
นายภาณุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี
นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี
นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี
พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐมหาเจษฎาบดินทร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐมหาเจษฎาบดินทร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี
นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี
นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี
นายภาณุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ช่วงทำพิธีตักน้ำใส่ “ขันน้ำสาคร” เกิดฝนตกลงมาโปรยปราย
นายภาณุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ได้มีกำหนดพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อย่างสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี ซึ่งจะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 4-6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ณ พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
กำหนดการประกอบพิธีพลีกรรมตักน้ำอภิเษก
โดยจะมีขึ้นในวันเสาร์ที่ 6 เมษายน 2562 การตักน้ำอภิเษก มาจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ 107 แหล่งน้ำทั้ง 76 จังหวัด และน้ำศักดิ์สิทธิ์จากหอศาสตราคม ในพระบรมมหาราชวัง จำนวน 1 แหล่งน้ำ
สำหรับน้ำสรงมุรธาภิเษก
มีแหล่งน้ำสรงมุรธาภิเษก จำนวน 9 แหล่งน้ำ ได้แก่
สระศักดิ์สิทธิ์ ในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี 4 สระ คือ สระแก้ว, สระคา, สระยมนา และ สระเกษ
และน้ำจากแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ 5 สาย คือ
ภาชนะและอุปกรณ์สำคัญ ในพิธีตักน้ำ
1.ขันน้ำสาคร
เป็นภาชนะใช้บรรจุน้ำศักดิ์สิทธิ์จากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ โดยตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ปริมาณร้อยละ 80 ของขันน้ำสาครตามฤกษ์ จากนั้นปิดฝาขันน้ำสาคร ห่อด้วยผ้าขาว ผูกริบบิ้นสีขาว นำไปเก็บ ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำคัญ
2.ที่ตักน้ำ
เป็นทองเหลืองขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว พร้อมด้ามจับยาว 6 นิ้ว
3.คนโทน้ำอภิเษก
ใช้บรรจุน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ผ่าน พิธีทำน้ำอภิเษก สามารถบรรจุน้ำได้ 4.5 ลิตร เป็นคนโทเซรามิก มีลวดลายกระจังเป็นลายน้ำทอง เคลือบสีขาวทั้งใบ โดยด้านหน้าจะมีตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2562 ส่วนด้านหลังจะมีภาพเครื่องหมายราชการแต่ละจังหวัด
4. เทียนชัย
เทียนชัย 1 เล่ม หนัก 80 บาท ไส้ 108 เส้น สูงเท่าความสูงของประธาน
5. เทียนมหามงคล
เทียนมงคล 1 เล่ม หนัก 10 บาท ไส้เกินกว่าอายุประธาน หรือเจ้าภาพ 1 เส้น สูงเท่าวงรอบศีรษะ
6. เทียนพุทธาภิเษก
เทียนพุทธาภิเษก 2 เล่ม หนักเล่มละ 32 บาท ไส้ 56 เส้น สูงประมาณกึ่งหนึ่งของเทียนชัย
ลำดับขั้นตอน
หลังจากพิธีพลีกรรมตักน้ำอภิเษกใส่ลงในคนโทน้ำอภิเษกแล้ว จะมีพิธีทำน้ำอภิเษก พิธีเวียนเทียนสมโภชน้ำอภิเษก ก่อนจะเชิญคนโทน้ำอภิเษกของจังหวัดมาเก็บรักษาไว้ที่กระทรวงมหาดไทย และต่อไปยังวัดสุทัศนเทพวราราม เพื่อประกอบพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์รวม และสุดท้ายนำไปไว้ยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
6 ม.ค. 2563